วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ตามรอยตำนานฟุตบอลเก่าแก่แดนมังกร

ตามรอยตำนานฟุตบอลเก่าแก่แดนมังกรเด็กคนหนึ่งสวมชุดโบราณมาเตะลูกหนังเข้าตาข่าย โดยการเตะลูกหนังเป็นกีฬาที่มีแต่โบร่ำโบราณของจีน

ในปี 2004 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ได้ประกาศยืนยันว่า กีฬาการเตะฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดได้เริ่มต้นในประเทศจีน โดยถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของกิจกรรมที่ใช้เพื่อการฝึกฝนร่างกายให้กับทหารในกองทัพในยุคบรรพกาลของกษัตริย์หวงตี้

ทว่าหากนับจากหลังมีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นตัวอักษร กีฬาเตะฟุตบอล หรือเตะลูกหนังในจีนจะเริ่มต้นในยุคจั้นกั๋ว (ปี 475-221 ก่อนคริสตศักราช) จากบันทึก “เปี๋ยลู่” ได้ระบุว่า “การเตะลูกหนัง ตำนานเล่าขานว่าคิดขึ้นโดยหวงตี้ บ้างระบุว่าเริ่มในสมัยจั้นกั๋ว” ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่จะอ้างอิงยุคสมัยจั้นกั๋วนี้มากกว่า โดยกีฬาดังกล่าวจะเป็นการเตะลูกกลมๆ ซึ่งสมัยโบราณทำจากแผ่นหนังนี้ ว่ากันว่าเริ่มต้นในรัฐฉี (ปัจจุบันอยู่ในเมืองหลินจือ มณฑลซันตง) เดิมถูกคิดขึ้นมาเพื่อใช้ฝึกทหาร จากนั้นก็ถูกดัดแปลงมาเป็นการละเล่น

เมื่อมาถึงราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนค.ศ. – ค.ศ. 220) เริ่มแรกการเตะลูกหนัง ยังคงถูกใช้เพื่อการฝึกทหารในกองทัพ ทว่าภายหลังจากการผลักดันของฮั่นเกาจู่ หรือหลิวปัง การเตะลูกหนังจึงถูกสนับสนุนให้กลายเป็นกีฬาเฉพาะกิจขึ้น มีการตั้งกฎกติกาที่ค่อนข้างครบถ้วน อีกทั้งมีการจัดตั้งสนามสำหรับเตะลูกหนัง รอบด้านมีกำแพงและอัฒจันทร์สำหรับชมการแข่งขัน โดยการแข่งขันสมัยนั้นจะแบ่งเป็น 2 ทีม แต่ละทีมจะมีผู้เล่น 12 คน และนับคะแนนจากการเตะลูกหนังเข้าประตู

เมื่อมาถึงราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – ค.ศ. 907) ก็มีการปรับปรุงเทคนิคการทำลูกหนังครั้งใหญ่ ทำให้ลูกหนังที่ใช้เตะมีลักษณะใกล้เคียงกับปัจจุบันมากขึ้น โดยมีการนำเอากระเพาะปัสสาวะของสัตว์มาใส่ลม จากนั้นก็ใช้แผ่นหนัง 8 แผ่นเย็บปิดด้านนอก ทำให้ลูกหนังมีความยืดหยุ่นและดีดตัวมากขึ้น ในสมัยนี้จะมีการแข่งขันทั้งขนาดใหญ่ในวังที่มีผู้คนเข้าร่วมจำนวนหลายร้อยคน หรือขนาดเล็กที่เล่นกันทั่วไปสำหรับชาวบ้าน

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960- ค.ศ.1279) เทคนิคการทำลูกหนังก็พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น ส่วนภายนอกของลูกหนังได้เปลี่ยนจากใช้แผ่นหนัง 8 แผ่นมาเป็น 12 แผ่น ทว่าในยุคนี้กลับไม่เน้นการแข่งขันระหว่าง 2 ทีม แต่จะเน้นที่การแสดงเทคนิคส่วนบุคคลมากกว่า ทำให้มีการจัดแสดงการเลี้ยงลูกหนัง โดยการใช้อวัยวะต่างๆนอกจากมือในการเข้ามาช่วยประคองลูกเอาไว้ ซึ่งมีการแสดงทั้งแบบเดี่ยว แบบคู่ หรือแบบสิบกว่าคนร่วมกันแสดง อีกทั้งยังมีการตั้งคณะการแสดงศิลปะการเลี้ยงลูกหนังขึ้น

เมื่อมาถึงยุคที่ชาวมองโกลเข้ายึดครองจีน จนตั้งเป็นราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1271- ค.ศ.1368) กีฬาเตะลูกหนังก็ค่อยๆกลายมาเป็นที่นิยมในชนชั้นสูงของมองโกล และได้แพร่หลายไปสู่ยุโรปพร้อมกับกองทัพทหารมองโกลที่บุกเข้าไป ครั้นมาถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368- ค.ศ.1644) กีฬาดังกล่าวก็เป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางและเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย จนถึงกับมีชนชั้นสูงหรือขุนนางหลายคนที่หลงใหลกีฬาเตะลูกหนังจนกระทั่งไม่สนใจหน้าที่การงาน ไม่สนใจงานบ้านเมือง รวมไปถึงเมื่อนางคณิกาในหอโคมเขียวเอง เมื่อเห็นว่ากีฬาประเภทนี้เป็นที่นิยมของผู้ชาย จึงได้ใช้การเล่นลูกหนังมาดึงดูดลูกค้า กระทั่งฮ่องเต้หมิงไท่จู่ ต้องมีคำสั่งห้ามไม่ให้ขุนนางและทหารเล่นเตะลูกหนังอีก และเมื่อกองทัพราชวงศ์ชิงเข้าด่านมายึดครองแผ่นดินจากราชวงศ์หมิง จึงได้ถือเป็นอุทาหรณ์ สั่งห้ามไม่ให้มีการเล่นกีฬาประเภทนี้
เด็กคนหนึ่งสวมชุดโบราณมาเตะลูกหนังเข้าตาข่าย โดยการเตะลูกหนังเป็นกีฬาที่มีแต่โบร่ำโบราณของจีน

ในปี 2004 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ได้ประกาศยืนยันว่า กีฬาการเตะฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดได้เริ่มต้นในประเทศจีน โดยถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของกิจกรรมที่ใช้เพื่อการฝึกฝนร่างกายให้กับทหารในกองทัพในยุคบรรพกาลของกษัตริย์หวงตี้

ทว่าหากนับจากหลังมีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นตัวอักษร กีฬาเตะฟุตบอล หรือเตะลูกหนังในจีนจะเริ่มต้นในยุคจั้นกั๋ว (ปี 475-221 ก่อนคริสตศักราช) จากบันทึก “เปี๋ยลู่” ได้ระบุว่า “การเตะลูกหนัง ตำนานเล่าขานว่าคิดขึ้นโดยหวงตี้ บ้างระบุว่าเริ่มในสมัยจั้นกั๋ว” ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่จะอ้างอิงยุคสมัยจั้นกั๋วนี้มากกว่า โดยกีฬาดังกล่าวจะเป็นการเตะลูกกลมๆ ซึ่งสมัยโบราณทำจากแผ่นหนังนี้ ว่ากันว่าเริ่มต้นในรัฐฉี (ปัจจุบันอยู่ในเมืองหลินจือ มณฑลซันตง) เดิมถูกคิดขึ้นมาเพื่อใช้ฝึกทหาร จากนั้นก็ถูกดัดแปลงมาเป็นการละเล่น

เมื่อมาถึงราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนค.ศ. – ค.ศ. 220) เริ่มแรกการเตะลูกหนัง ยังคงถูกใช้เพื่อการฝึกทหารในกองทัพ ทว่าภายหลังจากการผลักดันของฮั่นเกาจู่ หรือหลิวปัง การเตะลูกหนังจึงถูกสนับสนุนให้กลายเป็นกีฬาเฉพาะกิจขึ้น มีการตั้งกฎกติกาที่ค่อนข้างครบถ้วน อีกทั้งมีการจัดตั้งสนามสำหรับเตะลูกหนัง รอบด้านมีกำแพงและอัฒจันทร์สำหรับชมการแข่งขัน โดยการแข่งขันสมัยนั้นจะแบ่งเป็น 2 ทีม แต่ละทีมจะมีผู้เล่น 12 คน และนับคะแนนจากการเตะลูกหนังเข้าประตู

เมื่อมาถึงราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – ค.ศ. 907) ก็มีการปรับปรุงเทคนิคการทำลูกหนังครั้งใหญ่ ทำให้ลูกหนังที่ใช้เตะมีลักษณะใกล้เคียงกับปัจจุบันมากขึ้น โดยมีการนำเอากระเพาะปัสสาวะของสัตว์มาใส่ลม จากนั้นก็ใช้แผ่นหนัง 8 แผ่นเย็บปิดด้านนอก ทำให้ลูกหนังมีความยืดหยุ่นและดีดตัวมากขึ้น ในสมัยนี้จะมีการแข่งขันทั้งขนาดใหญ่ในวังที่มีผู้คนเข้าร่วมจำนวนหลายร้อยคน หรือขนาดเล็กที่เล่นกันทั่วไปสำหรับชาวบ้าน

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960- ค.ศ.1279) เทคนิคการทำลูกหนังก็พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น ส่วนภายนอกของลูกหนังได้เปลี่ยนจากใช้แผ่นหนัง 8 แผ่นมาเป็น 12 แผ่น ทว่าในยุคนี้กลับไม่เน้นการแข่งขันระหว่าง 2 ทีม แต่จะเน้นที่การแสดงเทคนิคส่วนบุคคลมากกว่า ทำให้มีการจัดแสดงการเลี้ยงลูกหนัง โดยการใช้อวัยวะต่างๆนอกจากมือในการเข้ามาช่วยประคองลูกเอาไว้ ซึ่งมีการแสดงทั้งแบบเดี่ยว แบบคู่ หรือแบบสิบกว่าคนร่วมกันแสดง อีกทั้งยังมีการตั้งคณะการแสดงศิลปะการเลี้ยงลูกหนังขึ้น

เมื่อมาถึงยุคที่ชาวมองโกลเข้ายึดครองจีน จนตั้งเป็นราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1271- ค.ศ.1368) กีฬาเตะลูกหนังก็ค่อยๆกลายมาเป็นที่นิยมในชนชั้นสูงของมองโกล และได้แพร่หลายไปสู่ยุโรปพร้อมกับกองทัพทหารมองโกลที่บุกเข้าไป ครั้นมาถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368- ค.ศ.1644) กีฬาดังกล่าวก็เป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางและเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย จนถึงกับมีชนชั้นสูงหรือขุนนางหลายคนที่หลงใหลกีฬาเตะลูกหนังจนกระทั่งไม่สนใจหน้าที่การงาน ไม่สนใจงานบ้านเมือง รวมไปถึงเมื่อนางคณิกาในหอโคมเขียวเอง เมื่อเห็นว่ากีฬาประเภทนี้เป็นที่นิยมของผู้ชาย จึงได้ใช้การเล่นลูกหนังมาดึงดูดลูกค้า กระทั่งฮ่องเต้หมิงไท่จู่ ต้องมีคำสั่งห้ามไม่ให้ขุนนางและทหารเล่นเตะลูกหนังอีก และเมื่อกองทัพราชวงศ์ชิงเข้าด่านมายึดครองแผ่นดินจากราชวงศ์หมิง จึงได้ถือเป็นอุทาหรณ์ สั่งห้ามไม่ให้มีการเล่นกีฬาประเภทนี้

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552